เสียงในภาษา
เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และ เพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น ขอความช่วยเหลือ แสดงความรู้สึกรัก เกลียด โกรธ ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ
เสียงในภาษาเกิดจากอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่กระบังลม ปอด หลอดลม กล่องเสียง ลิ้นไก่ เพดาน ลิ้น ปุ่มเหงือก ริมฝีปาก และช่องจมูก มาทำงานประสานกัน จึงทำให้เกิดเสียงได้
เสียงในภาษา มี 3 ชนิด คือ
1. เสียงสระ
2. เสียงพยัญชนะ
3. เสียงวรรณยุกต์
เสียงสระ
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินของลมเลย แล้วกระทบเส้นเสียงทั้งสองข้าง เกิดเป็นเสียงสั่นสะเทือน มีเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนานกว่าเสียงพยัญชนะ
เสียงสระ มี 24 เสียง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1. สระแท้ 2. สระประสม
1. เสียงสระแท้ มี 18 เสียง แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 สระแท้ฐานเดียว มี 8 เสียง คือ
เสียงสั้น เสียงยาว
อะ อา
อิ อี
อึ อื
อุ อู
1.2 สระแท้สองฐาน มี 10 เสียง คือ
เสียงสั้น เสียงยาว
เอะ เอ
แอะ แอ
โอะ โอ
เอาะ ออ
เออะ เออ
2. เสียงสระประสม คือ การนำสระแท้มาประสมกัน 2 เสียง สระประสมมี 6 เสียง คือ
เสียงสั้น เสียงยาว
เอียะ (อิ อะ) เอีย (อี อา)
เอือะ (ฮึ อะ) เอือ (อือ อา)
อัวะ (อุ อะ) อัว (อู อา)
หมายเหตุ ยังมีเสียงสระอีกชนิดหนึ่ง คือ สระเกิน ในสมัยก่อนถือว่าเป็นเสียงสระ แต่ปัจจุบันไม่ถือว่าสระเกินเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่
สระเกิน มี 8 เสียง คือ
1. อำ (อะ ม) 5. ฤ (อึ ร) อ่านว่า รึ
2. ไอ (อะ ย) 6. ฤา (อือ ร) อ่านว่า รือ
3. ใอ (อะ ย) 7. ฦ (อึ ล) อ่านว่า ลึ
4. เอา (อะ ว) 8. ฦา (อือ ล) อ่านว่า ลือ
เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องปากหรือช่องจมูก ลมอาจถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน จึงทำให้เกิดเสียงพยัญชนะต่าง ๆ
เสียงพยัญชนะ มี 21 เสียง ได้แก่
เสียงพยัญชนะไทย (21 เสียง) รูปพยัญชนะไทย (44 รูป)
1. ก ก
2. ข ข ฃ ค ฅ ฆ
3. ง ง
4. จ จ
5. ช ช ฌ ฉ
6. ซ ซ ศ ษ ส
7. ด ด ฎ
8. ต ต ฏ
9. ท ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
10. น น ณ
11. บ บ
12. ป ป
13. พ พ ภ ผ
14. ฟ ฟ ฝ
15. ม ม
16. ย ย ญ
17. ร ร
18. ล ล ฬ
19. ว ว
20. ฮ ห ฮ
21. อ อ
เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีระดับสูงต่ำแตกต่างกันไป นับว่าสำคัญมาก เพราะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย
เสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง คือ
1. เสียงสามัญ เช่น แตง ปาน แนว กอง เป็นต้น
2. เสียงเอก เช่น จัด ก่อน โปรด อิ่ม เป็นต้น
3. เสียงโท เช่น หิ้ว ง่าย มีด บ้าน ชั่ง ท้อง เป็นต้น
4. เสียงตรี เช่น โต๊ะ ชุด พลุ ไม้ เป็นต้น
5. เสียงจัตวา เช่น เสือ หวาน เขา ถือ เป็นต้น
หมายเหตุ เสียงวรรณยุกต์ที่อยู่ในพยางค์หรือคำต่าง ๆ ที่เราออกเสียงนั้น มีทั้งที่เสียงวรรณยุกต์ตรงกับรูปวรรณยุกต์ และไม่ตรงกับรูวรรณยุกต์ เช่น
เสียงวรรณยุกต์และรุปวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น ผ่า ข้าว เจี๊ยบ เป็นต้น
เสียงวรรณยุกต์และรุปวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน เช่น เที่ยว ม้า ค้า เป็นต้น
เสียงในภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
650
0